วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ


   กิจกรรมนี้อยู่ภายใต้ โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”  เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2552   คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ  Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
           โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
 
สรุปวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนก  ทักษะการวัด  และทักษะการสื่อความหมาย  2) เปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล  ตัวอย่างประชากรเป็นเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2  ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนวัดเกาะถ้ำและโรงเรียนชุมชนบ้านด่าน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1  จำนวน 38 คน  โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 19 คน ซึ่งใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการ  และกลุ่มควบคุม 19 คน ซึ่งเป็น ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติ  ระยะเวลาใน การเก็บรวบรวมข้อมูล 10 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที
   ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ด้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนกลุ่มของควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01