บันทึกการเรียนครั้งที่
3
วันศุกร์ที่16 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้เปิดคลิปวีดีโอให้นักศึกษาได้ชมกัน และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหาสื่อของเล่นมาคนละ 1 อย่าง และก็จะต้องไม่ซ้ำกันแต่สื่อของเล่นนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ได้ กลุ่มดิฉันได้หัวข้อ เกี่ยวกับอากาศ และหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้ว
ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน
เรื่อง อากาศ
อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
ความสำคัญ มี 8 อย่าง
1.มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2.มีอิทธิพลต่อการเกิดปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร
3ช่วยปรับอุณหภูมิในน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์
4.ทำให้เกิดลมและฝน
5.มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจและร่างกายและของมนุษย์ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม
6.ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์
7.ช่วยเผาไห้ม วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กไป
8.ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม
การดูแลรักษา"สภาพอากาศ"
-งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
- ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอย เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน
-แก้ไข รถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์
-อนุรักษ์ป่าไม้จะช่วยลดภาวะเรือนกระจก
-ปรับเปลี่ยนวิธีการเผาขยะมาเป็นการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่
ลักษณะอากาศ (weather)
เป็นเรื่องของความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วงสั้นๆ ซึ่งยากต่อการพยากรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นการมองภาพรวมของสภาพอากาศในระยะเวลาที่ยาวกว่า จึงทำให้ความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ถูกขจัดออกไปมลพิษทางอากาศ/โทษ
1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
1.1 เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute
sickness or death)
มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอด และในบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้นมักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วมากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ
1.2 เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic
disease)
การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูงมากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอ ที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ
1.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่าง ๆ (physiologycal
functions)
ของร่างกายที่สำคัญได้แก่ การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบายอากาศของปอด การนำพาออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่น ๆ ของระบบประสาท เป็นต้น
1.4 เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ (untoward symptoms)
1.5 เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (Nuisance)
เช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของ
การโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้
2. ผลต่อพืช
2.1 อันตรายที่เกิดกับพืช หมายถึง ในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชและอันตรายดังกล่าวนี้สามารถวัดหรือตรวจสอบได้โดยตรง เช่นPAN ทำอันตรายต่อสปองจี้เซลล์(spongy cells)
O 3 ทำอันตรายโดยเท่าเทียมกันต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ SO
2 ทำให้ใบของพืชสีจางลง ใบเหลืองเนื่องจากคลอโรฟีลล์ถูกทำลาย
2.2 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืช หมายถึง กรณีที่การเปลี่ยนแปลงอันวัดได้และทดสอบได้ของพืชซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของพืชนั้น เช่น ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด ๆ เนื่องจากแก๊สอะเซทิลีน
3. ผลต่อสัตว์
สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้า หรือพืชอื่น ๆ ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียมเป็นต้น
4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน
โดยกลไกที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุ ได้แก่ การขัดสีของฝุ่นทรายที่มีอยู่ในกระแสลมในบรรยากาศกับวัตถุต่าง ๆ เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรม เป็นเวลานานก็จะทำให้วัสดุสึกกร่อน การตกตะกอนของอนุภาคมลสารลงบนพื้นผิวของวัตถุทำให้เกิดความสกปรก และวิธีการทำความสะอาดหรือกำจัดอนุภาคเหล่านั้นออกก็อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีและการกัดกร่อนระหว่างมลสารกับผิวของวัตถุก็อาจเกิดขึ้นได้เช่น ทำให้โลหะผุกร่อน ยางและพลาสติกเปราะและแตก ผ้าเปื่อยและขาด ผิวเซรามิกส์ด้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น