บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันที่ พุธ ที่ 4 กันยายน
พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนนอกตารางเพื่อสั่งงานให้นักศึกษาได้ทำ
คือ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วพิมพ์การทดลอง เป็นของตนเองแล้วนำมารวมกันเป็นรูปเล่มส่งอาจารย์
แล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกการทดลองมากลุ่มละ 1 การทดลอง เพื่อที่จะมาเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป
ภาพบรยากาศในห้องเรียน
เรื่อง ไฟฟ้า
เปิดปิด สวิตช์มีหน้าที่อะไร
เกิดอะไรขึ้น
การเลื่อนลวดเสียบไปมาเป็นการปิดและเปิดสวิตช์
หลอดไฟ ( รูปที่5 )
คำแนะนำ
สามารถทำสวิตช์ได้โดยการบิดลวดเสียบขึ้นด้านบนเล็กน้อย
เพื่อให้มีการสัมผัสเฉพาะด้านบนเท่านั้น
สวิตช์แบบนี้เหมาะสำหรับการส่งรหัสมอร์สผ่านทางเครื่องรับส่งโทรเลข
สามารถสร้างสวิตช์แบบกดหรือเลื่อนได้จากตัวนำไฟฟ้าหลายชนิด ( รูปที่6 ) ร่วมกันศึกษาและแสดงความคิดเห็น
การสร้างเครื่องรับส่งโทรเลข
สร้างวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ด้วยถ่านไฟฉายและหลอดไฟที่ตั้งอยู่คนละฝั่งห้อง
โดยการนำสายไฟชนิดมีตัวหนีบและสายไฟเส้นยาวมากันให้เป็นสายยาว
จากนั้นประกอบสวิตช์กดปิดเปิดและถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า เราสามารถประยุกต์ใช้วงจรนี้เป็นโทรเลขได้ โดยให้เด็กในกลุ่มแรกนั่งอยู่ในจุดที่เป็นสวิตช์
( บ้านหลังที่
1 )
จากนั้นให้เด็กเด็กกดสวิตช์เพื่อส่งข้อความให้เด็กอีกกลุ่มซึ่งนั่งอยู่ในจุดที่เป็นหลอดไฟ
( บ้านหลังที่
2 ) โดยต้องกำหนดความหมายของสัญญาณแสง( ส่งรหัสมอร์ส ) ก่อน
ตัวอย่าง
แสงสว่างสั้น 2 ครั้ง : เด็กทุกคนในบ้านหลังที่
2 เข้านอน ยกเว้นผู้ดูแลเครื่องรับส่งโทรเลข
แสงสว่างยาว
1
ครั้ง : ตื่นนอน
โดยให้ผู้ดูแลเครื่องรับส่งโทรเลขปลุกทุกคนให้ตื่น
แสงสว่างสั้น
3
ครั้ง : สลับบ้านกัน
บ้านตุ๊กตาส่องสว่าง
ถ้าหากมีบ้านตุ๊กตาในห้อง
เด็กๆ สามารถช่วยกันสร้างวงจรส่องสว่างพร้อมกับสวิตช์เปิดปิดให้กับบ้านตุ๊กตาได้
อาจจัดหาสวิตช์ที่ได้มาตรฐานมาใช้
ทำไมเป็นเช่นนั้น
สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า
สวิตช์จะตัดการเชื่อมต่อระหว่างขั่วลบและขั่วบวก ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหลการติดตั้งสวิตช์ไว้ที่ตำแหน่งใดของวงจรก็ได้สวิตช์แบบกดปิดเปิด
( ส่งรหัสมอร์ส
)
ช่วยเพิ่มความเร็วในการปิดเปิดตามความต้องการ
สำหรับการส่งโทรเลข จะส่งข้อความไปในระยะไกล
แต่ต่างกันกับการใช้โทรศัพท์
เพราะการส่งโทรเลขไม่มีการพูดกัน ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกตั้งรหัสก่อนส่งการส่งทำได้เพียงทิศทางเดียว
แตกต่างจากการโทรศัพท์ ส่งรหัสมอร์สเป็นการสื่อสารด้วยด้วยการส่งสัญญาณที่มีความยาวแตกต่างกันสลับกับช่องว่าง
โดยสัญญาณอาจจะเป็นเสียงหรือแสงก็ได้
ตัวอักษรและตัวเลขทุกตัวจะมีรูปแบบรหัสที่แตกต่าง หมายเลขฉุกเฉินสากล SOS
ใช้รหัสมอร์สสั้น 3 ยาว 3
สิ่งที่พบในชีวิตประจำวัน
เด็กๆ
รู้สึกตื่นเต้นกับหลอดไฟและสวิตช์ เมื่อพวกเขากดเปิดสวิตช์ หลอดไฟก็จะส่องสว่าง
เมื่อกดอีกครั้งเพื่อปิดสวิตช์หลอดไฟก็จะดับ หลังจากที่เด็กค้นพบหลักการนี้
พวกเขาจะทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และสวิตช์ที่อยู่ข้างผนังนั้นเชื่อมต่อกับหลอดไฟได้อย่างไร
ทำไมหลอดไฟจึงติดสว่างเมื่อกดเปิดสวิตช์
ภาพรวมการทดลอง
สร้างวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยหลอดไฟและสวิตช์พร้อมประดิษฐ์โคมไฟขนาดเล็ก
สามารถใช้สายไฟเส้นยาว และสวิตช์เปิดปิด
ประกอบกันเป็นเครื่องส่งโทรเลขสำหรับส่งข้อความได้
วัสดุอุปกรณ์
สำหรับการทดลองรวม
กระดาษลูกฟูก ( ขนาด 80
x 80 เซนติเมตร )
กระดาษแก้ว (
ขนาด 80
x 80 เซนติเมตร
)
ที่เย็บกระดาษหรือแก้ว
สายไฟเส้นยาว
ยาวประมาณ 8-10 เมตร
( ขึ้นอยู่กับขนาดห้อง
) ที่ปอกปลายสายให้เรียบร้อย
สำหรับเด็กแต่ละคน
กรรไกร
ลวดเสียบกระดาษ
หมุดยืด
2
ตัว
ฐานหลอดไฟ
( E10 )
ถ่านไฟฉายชนิดแบน
( 4.5 V)
สายไฟชนิดมีตัวหนีบปากจระเข้
3
เส้น
(รูปที่
1 )
แนวคิดหลักของการทดลอง
สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือตัดวงจรไฟฟ้า
การทำให้หลอดไฟสว่างเป็นการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร
การที่หลอดไฟดับเนื่องจากสวิตช์ไฟฟ้าตัดการเชื่อมต่อวงจร
เริ่มต้นจาก
ข้อเสนอแนะ : หลังจากได้รับวัสดุอุปกรณ์แล้ว
จะต้องระวังไม่ให้เกิดการลัดวงจรขึ้น ( เช่น ต่อสายไฟทั้ง 2 เส้นต่อเข้ากับฐานหลอดไฟขั่วเดียวกัน ) เพราะถ่านไฟฉายจะร้อนและคลายประจุอย่างรวดเร็ว
ทบทวนวิธีต่อวงจรไฟฟ้า
ซึ่งประกอบด้วยสายไฟชนิดมีตัวหนีบปากจระเข้ หลอดไฟพร้อมฐานหลอดไฟ และถ่านไฟฉาย
ตรวจสอบดูว่าไฟติดสว่างหรือไม่ ถ้าต้องการโคมไฟให้วาดรูปลงในกระดาษแก้ว
ตัดวงกลมออกมาและตัดเป็นเส้นตรงจากขอบไปยังจุดศูนย์กลาง ( รูปที่ 2 ) และม้วนกระดาษให้เป็นกรวย
ยึดกระดาษด้วยกาวหรือลวดเย็บแล้ว นำไปวางครอบหลอดไฟ
ลองถามเด็กๆว่ายังขาดอุปกรณ์อื่นๆ
อีกหรือไม่
( ขาดสวิตช์เพื่อสะดวกในการเปิดปิดหลอดไฟ
)
ทดลองต่อไป
ตัดกระดาลูกฟูกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาด
5 x 5 เซนติเมตร ตัดลวดเสียบกระดาษอย่างระมัดระวัง
ถ้าลวดเสียบหักให้เปลี่ยนอันใหม่ จากนั้น ใช้หมุดยึดลวดเสียนกระดาษกล่อง
โดยให้เคลื่อนไปมาได้ และกดหมุดตัวที่ 2 ลงบนกระดาษกล่องให้สัมผัสกับลวดเสียบ ( รูปที่3 ) เพื่อเพิ่มความมั่นคง
ให้บิดขาข้างหนึ่งของลวดเสียบ หรือ ใช้ที่เจาะกระดาษเจาะรู 2 รู เพื่อให้สามารถปักหมุดลงบนตำแหน่งที่ถูกต้องได้
จากนั้น ต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยใช้สายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้อีกเส้น
หนีบตัวหนีบกับขาหมุดตัวแบนที่ไม่แตะกับหัวหมัด สังเกตกรเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.Scissors. กรรไกร
2.wire. ลวด
3.Ligth bulb base ฐานหลอดไฟ
4.Electricity. ไฟฟ้า
5. Switch. ปลั๊กไฟ
คำศัพท์
1.Scissors. กรรไกร
2.wire. ลวด
3.Ligth bulb base ฐานหลอดไฟ
4.Electricity. ไฟฟ้า
5. Switch. ปลั๊กไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น