วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้บอกรายละเอียดในการไปทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ ศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่ อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเดิมทำโครงการเพื่อที่จะได้มีลายลักษณ์อักษรในการไปทำกิจกรรมครั้งนี้


ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน






บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562



ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกกลุ่มได้เตรียมตัวมาพรีเซนต์การทดลองของตนเองที่ได้เลือกไว้ โดยอาจารย์จะคอยนั่งดูและให้คำแนะนำนักศึกษา โดยจะมีเพื่อนคอยมาเป็นเด็กนักเรียน คอยมาทำการทดลองของเพื่อนแต่ละกลุ่ม พอนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะเสนอแนะและเทคนิกที่สอนในวันนี้กลุ่มดิฉันได้ทดลองสถานีเติมลม เพื่อนำไปใช้สอนเด็ก และอาจารย์ได้นัดวันให้นักศึกษาไปทำการทดลองทำกิจกรรมกับเด็กที่ศูนย์เด็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่และกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาตัดขวดพลาสติกแล้วนำภาชนะไปใส่น้ำให้ปริ่มๆแล้วช่วยกันคาดคะแนว่าน้ำจะล้นในเหริญที่เท่าไหร่




ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน













บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2562


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาอกมานำเสนอการทดลองที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการพูด อาจารย์ได้พูดถึงทักษะทางวิทยาศาสตร์cและอาจารย์ได้ให้นักศึกษาวาดภาพแหล่งน้ำต่างๆโดยเพื่อนๆจะเป็นผู้ถายว่าแหล่งน้ำนี้คือที่ใด  กลุ่มดิฉันได้วาด น้ำตกเอราวัณ และให้กระดาษมาทำที่น้ำที่ไว้สำหรับเก็บน้ำค่ะ

ทักษะทางวิทยาศาตร์

 ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์

     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ

 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้

     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

     ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง

     ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก

 ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน




กลุ่มดิฉันได้วาด น้ำตกเอราวัณ
ป่าอเมซอนที่เพื่อนๆวาด





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


วันที่ พุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนนอกตารางเพื่อสั่งงานให้นักศึกษาได้ทำ คือ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วพิมพ์การทดลอง เป็นของตนเองแล้วนำมารวมกันเป็นรูปเล่มส่งอาจารย์ แล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกการทดลองมากลุ่มละ 1 การทดลอง เพื่อที่จะมาเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป 

ภาพบรยากาศในห้องเรียน



เรื่อง ไฟฟ้า

เปิดปิด สวิตช์มีหน้าที่อะไร


เกิดอะไรขึ้น
การเลื่อนลวดเสียบไปมาเป็นการปิดและเปิดสวิตช์ หลอดไฟ  ( รูปที่5 )

คำแนะนำ
สามารถทำสวิตช์ได้โดยการบิดลวดเสียบขึ้นด้านบนเล็กน้อย เพื่อให้มีการสัมผัสเฉพาะด้านบนเท่านั้น สวิตช์แบบนี้เหมาะสำหรับการส่งรหัสมอร์สผ่านทางเครื่องรับส่งโทรเลข สามารถสร้างสวิตช์แบบกดหรือเลื่อนได้จากตัวนำไฟฟ้าหลายชนิด ( รูปที่6 ) ร่วมกันศึกษาและแสดงความคิดเห็น

การสร้างเครื่องรับส่งโทรเลข
สร้างวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ด้วยถ่านไฟฉายและหลอดไฟที่ตั้งอยู่คนละฝั่งห้อง โดยการนำสายไฟชนิดมีตัวหนีบและสายไฟเส้นยาวมากันให้เป็นสายยาว จากนั้นประกอบสวิตช์กดปิดเปิดและถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า  เราสามารถประยุกต์ใช้วงจรนี้เป็นโทรเลขได้ โดยให้เด็กในกลุ่มแรกนั่งอยู่ในจุดที่เป็นสวิตช์
( บ้านหลังที่ 1 ) จากนั้นให้เด็กเด็กกดสวิตช์เพื่อส่งข้อความให้เด็กอีกกลุ่มซึ่งนั่งอยู่ในจุดที่เป็นหลอดไฟ
( บ้านหลังที่ 2 ) โดยต้องกำหนดความหมายของสัญญาณแสง( ส่งรหัสมอร์ส ) ก่อน

ตัวอย่าง
แสงสว่างสั้น 2 ครั้ง : เด็กทุกคนในบ้านหลังที่ 2 เข้านอน ยกเว้นผู้ดูแลเครื่องรับส่งโทรเลข
แสงสว่างยาว 1 ครั้ง : ตื่นนอน โดยให้ผู้ดูแลเครื่องรับส่งโทรเลขปลุกทุกคนให้ตื่น
แสงสว่างสั้น 3 ครั้ง : สลับบ้านกัน

บ้านตุ๊กตาส่องสว่าง
ถ้าหากมีบ้านตุ๊กตาในห้อง เด็กๆ สามารถช่วยกันสร้างวงจรส่องสว่างพร้อมกับสวิตช์เปิดปิดให้กับบ้านตุ๊กตาได้ อาจจัดหาสวิตช์ที่ได้มาตรฐานมาใช้

ทำไมเป็นเช่นนั้น
สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า สวิตช์จะตัดการเชื่อมต่อระหว่างขั่วลบและขั่วบวก ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหลการติดตั้งสวิตช์ไว้ที่ตำแหน่งใดของวงจรก็ได้สวิตช์แบบกดปิดเปิด ( ส่งรหัสมอร์ส )
ช่วยเพิ่มความเร็วในการปิดเปิดตามความต้องการ สำหรับการส่งโทรเลข จะส่งข้อความไปในระยะไกล
แต่ต่างกันกับการใช้โทรศัพท์ เพราะการส่งโทรเลขไม่มีการพูดกัน ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกตั้งรหัสก่อนส่งการส่งทำได้เพียงทิศทางเดียว แตกต่างจากการโทรศัพท์  ส่งรหัสมอร์สเป็นการสื่อสารด้วยด้วยการส่งสัญญาณที่มีความยาวแตกต่างกันสลับกับช่องว่าง โดยสัญญาณอาจจะเป็นเสียงหรือแสงก็ได้ ตัวอักษรและตัวเลขทุกตัวจะมีรูปแบบรหัสที่แตกต่าง หมายเลขฉุกเฉินสากล SOS ใช้รหัสมอร์สสั้น 3 ยาว 3

สิ่งที่พบในชีวิตประจำวัน
เด็กๆ รู้สึกตื่นเต้นกับหลอดไฟและสวิตช์ เมื่อพวกเขากดเปิดสวิตช์ หลอดไฟก็จะส่องสว่าง เมื่อกดอีกครั้งเพื่อปิดสวิตช์หลอดไฟก็จะดับ หลังจากที่เด็กค้นพบหลักการนี้ พวกเขาจะทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และสวิตช์ที่อยู่ข้างผนังนั้นเชื่อมต่อกับหลอดไฟได้อย่างไร ทำไมหลอดไฟจึงติดสว่างเมื่อกดเปิดสวิตช์

ภาพรวมการทดลอง
สร้างวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยหลอดไฟและสวิตช์พร้อมประดิษฐ์โคมไฟขนาดเล็ก  สามารถใช้สายไฟเส้นยาว และสวิตช์เปิดปิด ประกอบกันเป็นเครื่องส่งโทรเลขสำหรับส่งข้อความได้

วัสดุอุปกรณ์
สำหรับการทดลองรวม
กระดาษลูกฟูก ( ขนาด 80 x 80 เซนติเมตร )
กระดาษแก้ว ( ขนาด 80 x 80 เซนติเมตร )
ที่เย็บกระดาษหรือแก้ว
สายไฟเส้นยาว ยาวประมาณ 8-10 เมตร
( ขึ้นอยู่กับขนาดห้อง ) ที่ปอกปลายสายให้เรียบร้อย

สำหรับเด็กแต่ละคน
กรรไกร
ลวดเสียบกระดาษ
หมุดยืด 2 ตัว
ฐานหลอดไฟ ( E10 )
ถ่านไฟฉายชนิดแบน ( 4.5 V)
สายไฟชนิดมีตัวหนีบปากจระเข้ 3 เส้น
(รูปที่ 1 )

แนวคิดหลักของการทดลอง
สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือตัดวงจรไฟฟ้า การทำให้หลอดไฟสว่างเป็นการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร การที่หลอดไฟดับเนื่องจากสวิตช์ไฟฟ้าตัดการเชื่อมต่อวงจร
 

เริ่มต้นจาก
ข้อเสนอแนะ : หลังจากได้รับวัสดุอุปกรณ์แล้ว จะต้องระวังไม่ให้เกิดการลัดวงจรขึ้น ( เช่น ต่อสายไฟทั้ง 2 เส้นต่อเข้ากับฐานหลอดไฟขั่วเดียวกัน ) เพราะถ่านไฟฉายจะร้อนและคลายประจุอย่างรวดเร็ว
ทบทวนวิธีต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยสายไฟชนิดมีตัวหนีบปากจระเข้ หลอดไฟพร้อมฐานหลอดไฟ และถ่านไฟฉาย ตรวจสอบดูว่าไฟติดสว่างหรือไม่ ถ้าต้องการโคมไฟให้วาดรูปลงในกระดาษแก้ว ตัดวงกลมออกมาและตัดเป็นเส้นตรงจากขอบไปยังจุดศูนย์กลาง ( รูปที่ 2 ) และม้วนกระดาษให้เป็นกรวย ยึดกระดาษด้วยกาวหรือลวดเย็บแล้ว นำไปวางครอบหลอดไฟ ลองถามเด็กๆว่ายังขาดอุปกรณ์อื่นๆ
อีกหรือไม่ ( ขาดสวิตช์เพื่อสะดวกในการเปิดปิดหลอดไฟ )

ทดลองต่อไป
ตัดกระดาลูกฟูกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เซนติเมตร ตัดลวดเสียบกระดาษอย่างระมัดระวัง ถ้าลวดเสียบหักให้เปลี่ยนอันใหม่ จากนั้น ใช้หมุดยึดลวดเสียนกระดาษกล่อง โดยให้เคลื่อนไปมาได้ และกดหมุดตัวที่ 2 ลงบนกระดาษกล่องให้สัมผัสกับลวดเสียบ ( รูปที่3 ) เพื่อเพิ่มความมั่นคง ให้บิดขาข้างหนึ่งของลวดเสียบ หรือ ใช้ที่เจาะกระดาษเจาะรู 2 รู เพื่อให้สามารถปักหมุดลงบนตำแหน่งที่ถูกต้องได้ จากนั้น ต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยใช้สายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้อีกเส้น หนีบตัวหนีบกับขาหมุดตัวแบนที่ไม่แตะกับหัวหมัด สังเกตกรเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


คำศัพท์


1.Scissors.             กรรไกร
2.wire.                      ลวด
3.Ligth bulb base   ฐานหลอดไฟ
4.Electricity.            ไฟฟ้า
5. Switch.                 ปลั๊กไฟ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปหา การทดลองวิทยาศาสตร์มาคนละ 1 เรื่อง โดยจะไม่ซ้ำกันและนำเรื่องที่ได้มาทดลองและนำลงในบล็อค





ประดิษฐ์รุ้งจากอ่างใส่น้ำและกระจกMaking Rainbow from a Mirror and a Water Tank




สีรุ้งเกิดได้อย่างไร



เมื่อแสงอาทิตย์ตกระทบบนน้ำ จะเกิดการหักเหจากอากาศสู่น้ำ แสงจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง ซึ่งจะสะท้อนจากกระจก กลับออกมาจากน้ำ สู่อากาศ ปรากฎบนฉากที่เราวางไว้
       แสงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงสีต่างๆ กัน เรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า รุ้ง
เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่ง ไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง (เช่น อากาศไปสู่น้ำ) จะเกิดการหักเหของแสง ทำให้แสงกระจายออกเป็นสีรุ้ง

อุปกรณ์


  • อ่างน้ำ และ แก้วน้ำ : พร้อมน้ำ
กระจก : บานนี้ซื้อจากตลาด ราคา 19 บาทครับ แต่จะใช้กระจกที่มีอยู่แล้ว

ขั้นตอนการประดิษฐ์


วิธีที่ 1 : วางอ่างน้ำกลางแจ้ง

1.       นำอ่างใส่น้ำมาตั้งกลางแจ้งให้โดนแสงอาทิตย์ หันด้านที่เราต้องการให้เป็นด้านหน้า เข้าหาดวงอาทิตย์

2.       วางกระจกลงในอ่าง และวางฉาก(สีขาว)เพื่อรับรุ้ง
ปรับมุมกระจก และมุมของฉาก จนกระทั่งรุ้งปรากฎบนฉาก



วิธีที่ 2 : ไฟฉาย กับ แก้วน้ำ
1.       นำแก้วใส่น้ำวางไว้บนโต๊ะ
2.       วางฉากหลังสีขาว ไว้ด้านหนึ่งของแก้ว อาจทำแบบง่ายๆ คือ ติดกระดาษขาว บนกล่องกระดาษ
3.       ปิดไฟในห้องให้มืด หรือค่อนข้างมืด เปิดไฟฉาย แล้วส่องไฟไปยังแก้วน้ำ ด้านตรงข้ามกับที่วางฉาก
ลูกศรสีเหลือง แสดงบริเวณที่เกิดรุ้ง



ภาพขยายของรุ้ง
รุ้งที่ได้เส้นจะค่อนข้างบาง ถ้าเอียงฉากรับแสงให้ทำมุมเอียงกับรุ้งมากขึ้น ก็จะได้เส้นของรุ้งที่กว้างขึ้นด้วย




วิธีที่ 3 : อ่างน้ำ กับแก้วน้ำ
จัดวางอ่างน้ำ (สี่เหลี่ยม), แก้วน้ำ, ฉากสีขาว ดังภาพ เล็งไฟฉายไปทางแก้วน้ำ ปิดไฟ, เปิดไฟฉาย แล้วมองอ่างน้ำ ในแนวของลูกศรสีเหลือง จะเห็นรุ้งปรากฎอยู่ในแนวตั้ง








คำศัพท์

1. Shadow.    เงา
2.Rainbow. สายรุ้ง
 3.Glass.     กระจก
4.Refraction.   กานหักเห
5.Light.   แสง